โรคใบจุดดำกุหลาบ ในระยะที่สภาพอากาศมีฝนตกและมีลมแรง อาจส่งผลกระทบต่อการปลูกกุหลาบ เตือนเกษตรผู้ปลูกกุหลาบเฝ้าระวังการเกิดโรคใบจุดดำ สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของกุหลาบ มักพบแสดงอาการเริ่มแรกที่ใบกุหลาบด้านล่างก่อน โดยใบจะเริ่มเป็นจุดแผลกลมสีดำ ขอบแผลไม่เรียบ กลางแผลมีสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำ กรณีที่มีความชื้นสูง แผลจะขยายใหญ่ สามารถพบได้หลายแผลไปหนึ่งใบ ทำให้ใบเหลือง แห้งและหลุดร่วง เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความชื้น ลดแหล่งสะสมเชื้อรา สาเหตุโรค ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค หากเริ่มพบต้นที่เป็นโรคให้เกษตรกรตัดส่วนที่เป็นโรคและเก็บใบที่ร่วงหล่นนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที
ลักษณะอาการ จะมีลักษณะเป็นจุดวงกลมสีดำ ที่ผิวด้านบนของใบ จุดนี้จะขยายวงกว้างออกไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในฤดูฝน ที่มีฝนตกสม่ำเสมอ หรือในฤดูหนาวที่มีน้ำค้างมาก ๆ จะมีลักษณะขอบแผลไม่เรียบ มีสีเหลืองจางถึงเข้มล้อมรอบจุดแผล กลางแผลจะมีสีน้ำตาลอมม่วง หรือม่วงเข้มจนเกือบดำประกอบด้วยเส้นใยขนาดเล็กคล้ายขนปุย ๆ และมีก้อนสีดำเล็ก ๆ กระจายอยู่บนเส้นใย เชื้อราเม็ดสีดำเล็กๆนี้ คือ อับสปอร์ (ที่สร้างสปอร์ขยายพันธุ์) จะมีผลให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต อาการของโรคจะลุกลามจนใบเหลืองและหลุดร่วงในที่สุดต้นกุหลาบอาจตายได้
วิธีการป้องกัน เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อรา กรณีโรคยังระบาด ให้พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช โพรคลอราซ 45% อีซีอัตรา 20 ml. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดฟีโนโคนาโซล 25% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 5-7 วัน นอกจากนี้ ให้เกษตรกร หลีกเลี่ยง การให้น้ำแบบพ่นฝอย เพราะจะทำให้ใช้กับต้นที่เป็นโรค ในแปลงที่มีการระบาดก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ในครั้งต่อไป
ควรหาตัวยาที่ใช้ป้องกันมาใช้ป้องกันด้วยนะครับ
ติดต่อสอบถามสินค้ายาโรคพืชได้ทาง
Line : @greeniethai
โทร : 065-6654362