“ผลผลิต” เป็นเป้าหมายหลักของการปลูกพืชทุกชนิด แต่จะทำอย่างไรให้พืชที่เราปลูกนั้น ให้ผลผลิตตามที่เราต้องการ คำตอบส่วนหนึ่งอยู่ที่ “สารอาหารที่พืชได้รับ” น้ำ อากาศ และแสงแดด ก็สำคัญเช่นกัน
17 ธาตุอาหารที่กล่าวมาข้างต้น จะมี 3 ธาตุที่พืชได้รับตามธรรมชาติอย่างเพียงพอแล้ว คือ
C : คาร์บอนไดออกไซต์
H : ไฮโดรเจน
O : ออกซิเจน
ดังนั้น เหลือแค่ 14 ธาตุอาหารที่พืชควรได้รับเพิ่มเติม โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1.ธาตุอาหารหลัก N P K
2.ธาตุอาหารรอง Ca Mg S
3. จุลธาตุ(อาหารเสริม) Fe Mn Zn Cu B Mo Ni Cl
ธาตุอาหารหลัก ประกอบไปด้วย N P K ซึ่งหมายถึง
N : ไนโตรเจน
P : ฟอสฟอรัส
K : โพแทสเซียม
ธาตุอาหารรอง ประกอบไปด้วย Ca Mg S ซึ่งหมายถึง
Ca : แคลเซียม
Mg : แมกนีเซียม
S : กำมะถัน
จุลธาตุ ประกอบได้ด้วย Fe Zn Cu Mn B Mo Ni Ci ซึ่งหมายถึง
Fe : เหล็ก
Zn : สังกะสี
Cu : ทองแดง
Mn : แมงกานีส
B : โบรอน
Mo : โมลิบดีนัม
Ni : นิกเกิล
Ci : คลอไรด์
ธาตุอาหารหลัก : พืชต้องการมาก เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการมากที่สุด ซึ่งในดินมีปริมาณไม่เพียงพอ จำเป็นอย่างมากที่ต้องใส่เพิ่ม โดยธาตุอาหารหลักจำเป็นต้องใส่ตั้งแต่เริ่มปลูก
ธาตุอาหารรอง : พืชต้องการมาก ปริมาณที่พบในดินส่วนใหญ่มีมากกว่าธาตุหลัก จึงไม่ต้องใส่มากเหมือนธาตุอาหารหลัก แต่ก็ขาดไม่ได้เช่นกัน
จุลธาตุ : พืชต้องการน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้เช่นกัน เกษตรกรส่วนใหญ่พลาดในส่วนนี้เยอะมาก ปกติจะใส่แค่ธาตุอาหารหลักในปุ๋ยเคมีคิดว่าแค่นั้นก็เพียงพอ แต่ความเป็นจริงต้องให้ธาตุอาหารเสริมไปด้วยพืชจะได้สารอาหารครบถ้วน