5 โรคร้ายในต้นกุหลาบ

ต้นกุหลาบเป็นต้นดอกไม้ที่ใครหลายๆ คนนิยมปลูกเพื่อความสวยงาม แต่การปลูกดูแลต้นกุหลาบนั้นไม่ง่ายเลย เพราะต้องเจอปัญหาทั้งโรค แมลงศัตรูพืชมาคอยกวนใจ ถ้าเราไม่รีบแก้ไขและป้องกัน ต้นกุหลาบที่เรารักอาจจะค่อยๆ ตายไปก็ได้
เรามาทำความรู้จักกับโรคเหล่านี้กันเถอะ เพื่อต้นกุหลาบที่คุณรัก

1. โรคใบจุดดำกุหลาบ ( Black spot)

โรคใบจุดดำกุหลาบ เกิดจากเชื้อรา Marsonina rosae (lib.) Lind.
ลักษณะอาการ :
โรคใบจุดดำสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกุหลาบ แต่สามารถมองเห็นอาการได้ชัดเจนที่ใบ โดยใบกุหลาบจะเริ่มเป็นจุดแผลวงกลมสีดำ ขอบแผลไม่เรียบ มีสีเหลืองจางถึงเข้มล้อมรอบจุดแผล กลางแผลจะมีสีน้ำตาลอมม่วงหรือม่วงเข้มจนเกือบดำ บริเวณจุดแผลสีดำนั้น เมื่อสังเกตุดูใกล้ๆ จะเห็นเส้นใยกระจายทั่วแผลและมีเม็ดสีดำเล็กๆ กระจายปนกับเส้นใยของเชื้อราเม็ดสีดำเล็กๆนี้ คือ อับสปอร์ (ที่สร้างสปอร์ขยายพันธุ์) อาการของโรคจะลุกลามจบใบเหลืองและหลุดร่วงในที่สุดต้นกุหลาบจะตาย

คำแนะนำในการแก้ไขปัญหา
1. ตัดแต่งต้นกุหลาบให้โปร่ง โดยเด็ดใบที่เป็นโรคทิ้งออกให้หมดรวมถึงใบที่ร่วงอยู่ตามต้นด้วย ให้นำใบที่มีเชื้อราไปเผาทำลายเพราะตรงใบมีเชื้อราอยู่ ตัดแต่งให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกไม่อับชื้น
2. หากต้นหลาบปลูกอยู่ในบริเวณที่ร่ม ระวังอย่าให้กุหลาบเปียกชื้นทั้งวัน ปกติกุหลาบจะชอบแดดจัด จะทำให้ต้นกุหลาบเจริญเติบโตและให้ดอกสมบูรณ์+
3. เมื่อพบใบกุหลาบเริ่มมีอาการใบจุดดำให้เด็ดใบทิ้ง หากกุหลาบมีอาการใบจุดจำนวนมากและพบมีอาการใบเหลืองแล้ว ให้พ่น ซาพรอล โดยผสม ซาพรอล อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

2. โรคราแป้งของกุหลาบ

โรคราแป้งของกุหลาบ โรคนี้เกิดจากเชื้อราชั้นสูง ที่มีชื่อว่าออยเดียม สามารถเข้าบุกทำลายได้ทุกส่วนของต้นกุหลาบตั้งแต่ใบอ่อน ก้านดอก ก้านใบ กลีบดอก กิ่งอ่อน ตลอดจนเกสรของดอกกุหลาบ
อาการเริ่มแรก สังเกตุตรงอ่อนๆ ของกหลาบ เช่น บนใบอ่อนหรือกลีบดอก เป็นจุดสีแดงไม่มีขอบ ต่อมาจะพบกลุ่มเส้นใยบางๆ สีขาวและสปอร์ละเอียดคล้ายผงแป้งบนบริเวณนั้นภายในเวลาเพียง 5 วัน ซึ่งนับว่าเร็วมาก เมื่อเปรียบเทียบกับพัฒนาการของโรคบนพืชอื่น ผงแป้งหรือราแป้งนี้จะกระจายเป็นหย่อมๆ ทั่วไปบนใบอ่อน กิ่งอ่อน กลีบดอก ดอกตูมทำให้เกิดอาการบิดเบี้ยว เสียรูปร่าง ดอกเปลี่ยนสี ดอกไม่บานกลับเป็นสีน้ำตาลแดง ใบเหลือง แห้งกรอบและร่วง
ราออยเดียม ชอบอากาศเย็นโดยอุณหภูมิช่วงกลางคืนที่ 15.5 องศาเซลเซียสและ 26.7 องศาเชลเชียส ในเวลากลางวันที่มีความชื้นสูง ประมาณ 90-99 เปอร์เซ็น เช่นวันที่หมอกลงจัดหรือมีฝนตกพรำๆ หรือในฤดูหนาวที่มีน้ำค้างอยู่บนใบได้นานเกิน 2-3 ชม. สปอร์ของราที่ปลิวตามลม อาจจะจากใบล่างหรือจากต้นข้างเคียงหรือจากแปลงข้างเคียงก็ได้ เมื่อสปอร์ตกลงบนใบที่ชท้นพอจะงอกเส้นใยแทงทะลุผิวได้โดยตรงและเจริญอยู่ที่ใต้ผิวใบ พร้อมที่จะสร้างเส้นใยชูขึ้นมากลายเป็นสปอร์ได้ในเวลาอันสั้น คือประมาณ 48 ชม. ซึ่งโรคพืชชนิดอื่นอาจใช้เวลา 5-7 วัน หรือนานกว่านั้นจึงจะแสดงอาการ เมื่อราผลิตสปอร์บนต้นจึงสามารถทำให้เกิดโรคได้วนเวียนกลับขึ้นไปยังส่วนที่งอกใหม่ซ้ำๆ ได้อีกหลายรอบในแต่ละฤดูโดยเฉพาะเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม

คำแนะนำในการแก้ไขปัญหา
1. การตัดแต่งให้โปร่ง เป็นการลดแหล่งระบาดของโรคและช่วยให้อากาศถ่ายเทไม่อับชื้น การปลูกในแนวขวางตะวัน จะทำให้แดดส่องถึงได้ทั่วแปลง เป็นการลดความชื้นเมื่อตัดแต่งกิ่งแล้วควรทำลายกิ่งก้านของโรคให้พ้นจากแปลงปลูก
2. การพ่นสารป้องกันโรคพืช ควรปฏิบัติตั้งแต่ระยะหลังการตัดแต่งกิ่งและเมื่อเริ่มแทงยอดใหม่ จากนั้นพ่นอย่างสม่ำเสมอทุก 7-10 วัน หากพบการระบาด ควรพ่นให้บ่อยขึ้น
3. สารป้องกันกำจัดโรคพืช ที่ใช้ได้ดีมักมีส่วนประกอบของกำมะถัน ได้แก่ กำมะถัน ชนิดผงหรือชนิดน้ำ , คอปเปอร์ซัลเฟต , ไทโอฟาเนต เมททิล , ไทแรมหรือสารกลุ่มไทอะโซล เป็นต้น

3. โรคราน้ำค้างในกุหลาบ

โรคราน้ำค้างในกุหลาบ เกิดจากเชื้อรา Pernonsporn sparsa Berk. อาการเริ่มแรกจะเป็นแผลจุดซ้ำสีเหลืองที่ผิวด้านบนของใบอ่อน ต่อมาแผลขยายขนาดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล สีม่วงอ่อนๆ จนถึงสีดำ ลักษณะแผลถ้าไม่ใช่โรคใบจุด หรือโรคแอนแทรกโนสให้มองไว้ได้เลยว่าคือราน้ำค้าง ขอบแผลสีเหลืองช่วงที่ความชื้นสูงอาจพบกลุ่มของเส้นใยและสปอร์ของเชื้อราบริเวณแผลส่วนใต้ใบ อาการรุนแรงเกิดแผลจำนวนมาก แผลลุกลามสู่ใบล่างและกระจายทั่วต้น ใบเกิดอาการบิดเบี้ยว ยอดอ่อนชะงักการเจริญเติบโต ใบยอดม้วนงอ เหี่ยวเหลือง และร่วงในที่สุด โรคเกิดเร็วมาก ภายในไม่กี่วันใบอาจจะร่วงได้ อาจพบอาการแผลสีน้ำตาลที่กิ่งและยอดอ่อน เชื้อราสาเหตุนี้ จะแพร่ระบาดโดยสปอร์พัดปลิวไปตามลม น้ำ แมลง และสามารถอยู่ได้เป็นเดือนในใบที่ร่วงหล่นอยู่ที่พื้นดินโดยสร้างเส้นใยและสปอร์ผนังหนาอยู่ในชิ้นส่วนที่เป็นโรค สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค คืออุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง แต่ถ้าอากาศแห้งเชื้อก็จะตายไปด้วย โดยจะไม่พบการแพร่ระบาดเมื่อความชื้นลดลงต่ำกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ และอุณหภูมิสูงกว่า 32 องศาเซลเซียส

คำแนะนำในการแก้ปัญหา (ซึ่งใช้ได้กับโรคใบจุด โรคแอนแทรกโนสด้วย)
1. ควรพรวนดินให้มีการถ่ายเทอากาศดี และได้รับแสงแดดอย่างพอเพียง เพื่อลดการสะสมความชื้นในแปลง
2. จัดระบบการให้น้ำให้เหมาะสม
3. กำจัดเศษซากพืชที่เป็นโรคออกนอกแปลงปลูก นำไปเผาหรือฝัง
4. ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา แบบป้องกันโดยใช้สารออกฤทธิ์แบบสัมผัส เช่น แมนโคเซ็บ โปรปิเน็บ ไทแรม ซีเน็บ เป็นหลักทุก 7-10 วัน ควรตรวจดูสภาพอากาศและภาวะที่เอื้ออำนวยต่อการระบาด เมื่อมีการระบาดของโรคควรผสมกับสารดูดซึม หรือพ่นสลับด้วยสารดูดซึม ทุก 3-4 วัน สารดูดซึมมีหลายกลุ่ม เช่น เมตาแลกซิล โปรคลอราส ไดฟีโคนาโซล ไทอาเบนดาโซล เบนโนมิล คาร์เบนดาซิม อะโซไซสะโตรบิน โพซีธิล-อลูมิเนียม

4. โรคราสีเทา

 โรคราสีเทา (Gray mold, Botrytis blight) อาการคือดอกกุหลาบตุ้มไม่ยอมบานออกจนกลีบนอกเริ่มเหี่ยวแห้งหรือทำให้ดอกกุหลาบเหี่ยวง่ายเร็วกว่าปกติ พบในกุหลาบบางสายพันธุ์ที่อ่อนต่อโรค นอกจากนั้นยังทำให้ทั่วทั้งกิ่งเหี่ยวแห้งตามไปจนถึงโคนต้นได้อีกด้วย

คำแนะนำในการแก้ปัญหา
โดยการปลูกกุหลาบในโรงเรือนช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความชื้นสูงจากน้ำฝนการควบคุมด้วยสารเคมี ไม่ควรใช้สารกลุ่ม (Frac gr.) เดียวกันต่อเนื่องเพราะเชื้อราดื้อต่อสารเคมีได้ง่าย ควรใช้สารกำจัดเชื้อรากลุ่ม11 Frac gr.11 (สโตรบิลูริน,strobilurins) สลับกับสารที่มีฤทธิ์ป้องกันเชื้อรา เช่น คอปเปอร์ ไฮดร๊อกไซด์ แมนโคเซ็บ หรือ คลอโรทาโรนิล เป็นต้น

5. โรคตากบ

โรคใบจุดตากบ (frog-eye leafspot) สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Cercospora capsici ลักษณะอาการอาการที่ใบ เป็นแผลสีน้ำตาลค่อนข้างกลมขนาดใหญ่ ขนาด 2-10 ม.ม. ตรงกลางแผลมีจุดสีจางๆ คล้ายจุดตากบ ต่อมาแผลจะขยายรวมกันเป็นแผลใหญ่ขึ้น ในกรณีที่รุนแรง แผลเป็นสีน้ำตาลเข้มมีขอบแผลเข้มกว่าจนถึงสีดำ กลางแผลมีสีเทา บางครั้งพบสีเหลืองล้อมรอบ ถึงแม้ใบมีเพียงจุดเดียวเนื้อใบสามารถเปลี่ยนเป็นสีเหลืองร่วงหล่นได้ แต่ส่วนมากจะพบเห็นจุดตากบเกิดขึ้นพร้อมกันหลายจุด ถ้ามีโรคระบาดรุนแรงจะส่งผลให้ต้นพริกชะงักการเจริญเติบโต การออกดอกและการติดผลต่ำ นอกจากนี้โรคใบจุดตากบยังสามารถระบาดไปตามกิ่งและก้านผลได้ แต่ไม่รุนแรงเหมือนบนใบ การป้องกันกำจัด1. ต้องรักษาความสะอาดในแปลงปลูกไม่ให้มีวัชพืชที่เป็นแหล่งอาศัยของเชื้อราสาเหตุ เป็นโรคกุหลาบ ที่มีอาการมีลักษณะคล้ายโรคใบจุดสีดำที่กล่าวมา แต่ขอบจุดชัดเจนไม่เป็นรอยคล้ายหยดหมึก ตรงกลางมีลักษณะเป็นจุดแห้งบางจุดคล้ายกับดวงตาของกบ ซึ่งลักษณะการป้องกันและกำจัดก็คล้ายกับโรคใบจุดที่เกิดจากการระบาดของเชื้อราอันเกิดจากความเปียกในเวลากลางคืน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *